รู้จักภาษาไทย
ตอนที่ 1
ความรู้เรื่องภาษา
ภาษา หมายถึงเครื่องมือการสื่อความหมาย
แสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการให้ผู้อื่นทราบ
การสื่อความหมายนั้นอาจแสดงได้หลายทาง ซึ่งเราจำแนกตามเครื่องรับรู้เป็นประเภทดังต่อไปนี้.
1.
จักษุภาษา (Eye Language) หมายถึงภาษาที่อาศัยตาเป็นสื่อ
เช่นพวกภาษาใบ้ (Getural
Language) หรือ
ภาษารูปภาพ
(Picture Writing) ซึ่งพวกอียิปต์ พวกเบบิโลเนียน
พวกจีน เคยใช้มาก่อน รวมทั้งตัวหนังสืออย่างที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ (Alphabet Writing)
2.
โสตภาษา (Ear Language) หมายถึงภาษาที่อาศัยหูเป็นสื่อ หรือเป็นเครื่องรับเช่น ภาษาพูด
หรือการตีเกราะ เคาะไม้
3.
ผัสภาษา หมายถึงภาษาที่อาศัยการสัมผัสเป็นสื่อ ได้แก่
ตัวอักษรของคนตาบอดเป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาษาตามนัยแห่งภาษาศาสตร์หมายถึง การสื่อความหมาย
แสดงความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ให้ผู้อื่นทราบ โดยใช้เสียงที่มีความหมาย
โดยตกลงกันแน่นอนแล้ว มีผู้สามารถเข้าใจและโต้ตอบกันได้
กล่าวโดยสรุป ภาษาจะต้องประกอบด้วยเสียงพูด ซึ่งมีระเบียบ
ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเสียง (Phonology) เอาหน่วยเสียงมาประสมกัน
จะกลายเป็นหน่วยคำ (Morphology) และเมื่อเอาหน่วยคำมาประสมกัน
ก็เป็นวลีหรือประโยค (Syntex) ความหมาย
ซึ่งผู้พูดผู้ฟังต้องเข้าใจตรงกัน และผู้ฟังสามารถโต้ตอบได้
ทั้งเสียงและความหมายต้องสัมพันธ์กัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
เสียงเป็นอาการภายนอก ความหมายเป็นอาการภายใน
ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงต้องมีการสืบต่อกันไป
ภาษาพูดของมนุษย์จึงต้องสอนกันโดยที่มนุษย์ใช้พูดจากัน จึงเรียกว่า (Spoken Language) และภาษาพูดเป็นภาษาที่ได้ตกลงนัดหมาย เป็นที่เข้าใจตรงกันแล้วจึงเรียกว่า
(Conventional
Language)
และโดยที่ภาษาสืบต่อเนื่องกันเป็นประเพณีจึงเรียกว่า (Traditional Language)
ภาษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปเสมอ บางทีก็เสียงเปลี่ยนไป
ยุคหนึ่งใช้อย่างหนึ่ง ถิ่นหนึ่งใช้อย่างหนึ่ง มีการกลายเสียง กลายความหมาย
มีบางคำที่ตายไป บางคำเกือบสูญไป และก็มีบางคำเกิดขึ้นใหม่
หมู่ชนที่อยู่รวมกันที่เรียกว่าประเทศชาติ ย่อมมีภาษาประจำชาติของตน
สำหรับสื่อสารทำความเข้าใจกัน และเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
ที่ทำให้รู้ได้ว่าเป็นพวกเดียวกันหรือชาติเดียวกัน
ภาษาของชาติใดมีผู้พูดเป็นจำนวนมากและอยู่ห่างต่างถิ่นกัน
ติดต่อกันไม่สะดวก เสียงและความหมายของคำในภาษาก็จะผิดเพี้ยนกันไปมาก
ภาษาที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ภาษาถิ่น (Dialects)
ถ้าผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อยอย่างที่เรียกว่า เสียงเหน่อ ก็เรียกว่า ภาษาชนบท (Patois Or Provincialism)
ถ้าภาษาของถิ่นใดเป็นภาษาของเมืองหลวงและมีหนังสือวรรณคดีเป็นของชาติ
ภาษานั้นก็กลายเป็นภาษากลาง ซึ่งใครๆในชาตินั้น ไม่ว่าถิ่นใด
ย่อมถือเอาเป็นแบบแผนในการใช้ภาษาของชาตินั้น ซึ่งเป็นภาษาตามมาตรฐานขึ้น (Standard Language) คนในชาติจะต้องเรียนรู้เป็นภาษาของส่วนรวม
เหตุนี้จึงต้องเรียนหนังสือและเรียนภาษาวรรณคดี (Literary Language) เพื่อจะได้ใช้หนังสือวรรณคดีเป็นเครื่องอ่าน
และศึกษาภาษาของชาติเป็นส่วนรวม อนึ่งตัวหนังสือไม่ใช้ภาษาโดยตรง
เพราะการเขียนการพิมพ์หนังสือเป็นแต่เพียงวิธีถ่ายเอาเสียงพูดมาเป็นตัวหนังสือเท่านั้น
ลักษณะทั่วไปของภาษา
1.
ภาษาเป็นกลุ่ม (Set) ของเสียงนกร้องก็ดี
เด็กทำเสียงอ้อแอ้ก็ดี เหล่านี้ถือเป็นกลุ่มของเสียง
เหมือนกัน
2.
ภาษามีลักษณะที่ทำนายล่วงหน้าไม่ได้
ให้เหตุผลไม่ได้ว่าทำไมจึงใช้คำหนึ่งแทนคำหนึ่ง ไม่มี
ใครบอกได้ว่าทำไมเราเรียก
หมา ว่า หมา คนอังกฤษเรียกว่า Dog
โดยไม่มีเหตุผลเลยว่ามีความจำเป็นอย่างไร จึงต้องเรียกต่างกันเช่นนั้น
จริงอยู่มีคำอีกหลายคำที่เกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น ไก่ไทยขัน เอ้ก อี๊
เอ้ก เอ้ก แต่ฝรั่งกับได้ยินเป็น Cock A-Doodle-Doo หรือเวลาจามเราจาม ฮัดเช่ย แต่อังกฤษ Archoo อย่างนี้เป็นต้น
ดังที่กล่าวมานี้แม้จะถือว่าเลียนเสียงธรรมชาติก็ตาม
ก็ยังมีลักษณะที่ทำนายไม่ได้ว่า ทำไมแต่ละชาติแต่ละภาษาจึงฟังเสียงต่างกันไปได้
ดังนั้นจึงทำให้เชื่อว่าคำในภาษาที่ใช้กันนั้นเกิดขึ้นมา โดยที่ไม่มีใครบอกได้ว่า
มีสาเหตุมาจากอะไรแล้วจึงใช้กันต่อๆมา ส่วนคำที่เลียนเสียงธรรมชาตินั้นก็มีบ้าง
แต่เป็นส่วนน้อยเหลือเกิน
3.
ภาษามีระบบและกฎเกณฑ์
แต่ละภาษาย่อมมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนทั้งด้านไวยากรณ์ หรือการ
เรียงคำหรือทางด้านเสียงหรือการเรียงลำดับเสียง
ประหนึ่งว่า 7+7 จะต้องเป็น 14 หรือมีประโยคว่า “ผมชอบแมว............หมา”
ถ้าหากให้คนที่ฟังภาษาไทยตอบก็ต้องเติมคำว่า “กว่า” ลงใช่องว่างทันที
เสียงก็มีระบบเหมือนกัน คือเราจะให้เสียง /ส/ และเสียง /ต/
ในภาษาไทยอยู่เรียงกันโดยไม่มีสระคั่นอย่าง /st/
ในภาษาไม่ได้
4.
ภาษามีความหมาย แต่ว่าภาษาทางความหมายนี้ผิดกับความหมายที่เกิดจากลักษณะที่ไม่ใช่
ภาษา
เช่น การที่สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงระฆัง ตามการทดลองของพาฟลอฟ (Pavlov)
ก็มีลักษณะที่มีความหมายอย่างหนึ่งเหมือนกัน
แต่ว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่นั้นมีความหมาย โดยที่มีต้องมีสิ่งที่เราอยู่เฉพาะหน้า
เช่น เราสามารถพูดถึงทุเรียน หรือ มีทุเรียนอยู่ตรงหน้า
5.
ภาษาแต่ละภาษาย่อมมีความสมบูรณ์อยู่ในตัว
แม้ว่าภาษานั้นจะมีคำเพียงไม่กี่พันคำ ก็สามารถ
แสดงออกถึงความรู้สึกประสบการณ์
และวัฒนธรรมของภาษานั้นได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อชนชาตินั้นได้ติดต่อกับประเทศอื่นอย่างกว้างขวาง
มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มคำใหม่เพื่อให้ครอบคลุมถึงวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ได้มาใหม่
ก็ย่อมทำได้ อย่างเช่นภาษาไทยที่ยืมคำต่างประเทศมาใช้
หรือมีการบัญญัติศัพท์ทางวิชาการขึ้นใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้อการทางภาษาแต่ละยุคแต่ละสมัย
6.
ภาษามีลักษณะเป็นสากล (Universal)
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากอยู่ ภาษามีลักษณะใดบ้างที่
เป็นสากล
ขณะนี้นักภาษาศาสตร์ตามแนวของ Chomsky ก็เริ่มสนใจลักษณะสากลภาษา
เพราะเชื่อกันว่า ภาษาทุกภาษาในโลกนี้จะต้องมีลักษณะอย่างเดียวกันคือ ต้องมีประโยค
และประโยคประกอบด้วยวลี และกริยาวลี มีคำที่มีลักษณะอย่างที่เรียกว่า “นาม” และ
“กริยา” เป็นต้น
7.
ภาษาเป็นลักษณะสังคม
เราใช้ภาษาในการสื่อความหมายติดต่อกันในสังคมผิดกับลักษณะที่
เป็นสัญชาติญาณ
เช่น การร้องเมื่อรู้สึกเจ็บ การหัวเราะเมื่อดีใจไม่ถือว่าเป็นภาษา ภาษานั้นเป็นสิ่งที่ใช้เครื่องมือช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปด้วย
ดังจะเห็นได้ว่าพวกที่อพยพจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง
จะพยายามอย่างมากที่จะเรียนภาษาใหม่เพื่อความสะดวกในการสังคมของตนเอง
8.
ภาษานั้นมีจำนวนประโยคไม่รู้จบ อันเกิดจากการสร้างประโยคใหม่ (Generate) จากจำนวนคำที่มี
จำนวนจำกัด
ลักษณะคล้ายกับลักษณะที่เกิดกับจำนวนเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9
แต่เมื่อเอามาเขียนกันเข้าในรูปต่างๆและจะเกิดจำนวนเลขไม่รู้จบขึ้นได้
ภาษาก็เหมือนกัน เรามีคำหลายพันหลายหมื่นคำ
ถ้าเอามารวมกันเข้าเป็นประโยคในรูปต่างๆแล้ว พูดตั้งแต่เกิดจนตายหลายชั่วคนก็ไม่รู้จักหมด
9.
ภาษามีลักษณะที่ว่าคำหนึ่งใช้แทนที่ (Substitute)
คำอื่นที่เป็นคำพวกเดียวกัน เพื่อให้เกิด
ความหมายต่างๆกันได้
แต่การที่เราเห็นนกแก้ว นกขุนทองพูดได้จ้อ เลียนตามเสียงคนสอนให้พูด แต่นกแก้วขุนทองไม่สามารถจะเอาคำอื่นไปแทนที่คำหนึ่งในประโยคแล้วพูดออกมาเป็นประโยคใหม่ที่มีความหมายแปลกออกไปได้เลย
เราจึงไม่ถือว่านกขุนทองรู้จักใช้ภาษา แต่จะเรียกว่ามันเลียนภาษาพูดได้เท่านั้น
การกำหนดคำในภาษา
ภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นเรื่องที่เอายุติไม่ได้เพราะภาษาเกิดมานานนับพันๆปี
ซึ่งยังมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ย่อมยากแก่การค้นคว้าหาหลักฐานมายืนยัน นักปราชญ์ทางภาษามีความเห็นว่า
ดั้งเดิมมนุษย์ก็เหมือนสัตว์โลกทั้งหลายคือยังพูดไม่เป็น ครั้นอยู่รวมกันมากๆเข้า
ก็เกิดความจำเป็นจะต้องใช้ภาษา ในครั้งแรกทีเดียวก็คงเป็นภาษาใบ้ (Gestural Languatge) คือยกมือยกไม้ประกอบท่าทาง
การที่เราใช้ภาษาให้เป็นเครื่องสื่อความหมาย
คงจะไม่สะดวกนัก อย่างเช่นว่า “จงไปหยิบ
ดอกกุหลาบสีขาวที่ข้างโต๊ะรับแขกในห้องมาให้หน่อย”
ก็ยากแก่การทำพวกคำบุรพบทและคำนามธรรม ก็อยากที่จะแสดงท่าทางให้เข้าใจตรงกันได้
จึงเกิดความจำเป็นในการใช้ภาษาพูดที่มีความหมายตกลงกันเป็นที่รับรู้แล้ว
คำพูดเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น
ยังไม่เป็นที่ยุติกันได้ แต่มีนักปราชญ์ทางภาษาได้สันนิษฐาน
เป็นทฤษฎีว่า
คำพูดครั้งแรกนั้นภาษาเกิดขึ้นโดย
1.เลียนเสียงธรรมชาติ (Onomatopocia Language) หรือเลียนเสียงสัตว์ร้อง
ทฤษฏีนี้เป็นความคิด
ของ Mux Rulle เรียกทฤษฎีนี้ว่า “Bow-Row
Theory”
เหตุนี้คำพูดบางคำในภาษาต่างๆ จึงมีเสียงคล้ายคลึงกัน เช่น แมว กา
ซึ่งคงตั้งชื่อเอาตามเสียงที่มันร้อง หรือคำ เช่น ฮือๆ เป็นเสียงลมพัดกระทบสิ่งต่างๆยังเป็นเสียงระเบิดตูมเป็นเสียงทุ่มทิ้งของหนัก
คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ
ไม่จำเป็นต้องเหมือนของจริงอาจจะเลือกเสียงที่เด่นและชัด
ฉะนั้นคำในภาษาต่างๆ
จึงผิดเพี้ยนกันไปไม่ตรงกันทีเดียว เรื่องนี้อาจเป็นเพราะประสาททางหูอาจแตกต่างกัน
ทั้งทางถ่ายทอดเสียงที่ได้ยินก็ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของระบบเสียงในภาษาของตน
อย่างเช่น นกกะเรียน
ไทย
ไทยเหนือ สันสกฤต บาลี อังกฤษ ฝรั่งเศส
นกกะเรียน นกเขียน
เกฺราญจ โกญจนาท Crane Grue
คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ บางคำอาจห่างจากเสียงที่แท้จริงก็ได้ เช่น
โกรกธาร คำต้นคงมาจาก
เสียงน้ำไหลในช่องอย่างแรงดังโกรก
น้ำตกซก เปียกโซก หรือคำเช่น กระดิ่ง ฉิ่ง ก็ล้วนเป็นคำมาจากเสียงของสิ่งนั้น
หรือเสียงหึ่ง (buzz) เสียงแมวขู่ (purr)
คำชนิดนี้ล้วนเป็นเสียงสะท้อนชั้นที่สอง (Secondary echoism) เพราะเป็นเสียงที่ห่างจากเสียงเดิมอันแท้จริง
การเลียนเสียงธรรมชาตินั้นไม่ใช่ของง่าย
ยากแก่การที่จะถือว่าเสียงไหนชัดเจน เพราะเสียงธรรมชาติเป็นเสียงควบสลับซับซ้อน
ไม่ใช่เป็นเสียงง่ายๆเสียงเดียว เราอาจทำเสียงใดเสียงหนึ่งแตกต่างกันไปดังที่เรานึกก็ได้
เพราะฉะนั้นเสียงเหล่านั้นในภาษาต่างๆจึงเพี้ยนกันไป อย่างเสียงไก่ขัน
ไก่ขัน อังกฤษ cock a doodle do
ฝรั่งเศส Ccoeorico
อิตาลี chicchirichi
ไทย เอ้ก
อี เอ้ก เอ้ก
สุนัข อังกฤษ bow-wow
ฝรั่งเศส our-our
อิตาลี bu-bu
ไทย บ๊อง
บ๊อง
ตุ๊กแก ไทยกลาง ตุ๊กแก
ไทยพายัพ ต๊กโต
ไทยนุง กักแก
ไทยหลวงพระบาท อักแอ
เขมร ตกแก
ญวน กักแก
พม่า ต๊อกแต้
อังกฤษ เกคโก
จีน ก้อบไก่
(กวางตุ้ง)
คักโก้
(แต่จิ๋ว)
กังแก
(ไหหล๋า)
มอญ กับไก, ตอดเตา
มนุษย์คิดตั้งคำถามในครั้งแรก
คงไม่มีจุดหมายที่จะเรียนเสียงได้ถูกต้องกับเสียงจริง
ต้องการพอให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไรพอเป็นประมาณ
แต่เมื่อเป็นคำขึ้นในภาษาเมื่อภาษามีหลักเกณฑ์และไวยากรณ์เป็นรูปเป็นร่างขึ้นก็ได้มีการปรุงแต่งเพื่อให้มีคำใช้ในภาษาอย่างพอเพียง
เช่น ในภาษาบาลี ไก่ตัวผู้เรียกว่า กุกกด ถ้าเป็นไก่ตัวเมียก็ปรุงแต่งเป็น
กุกกุกฎี และคำซึ่งตั้งขึ้นจากเลียนเสียงธรรมชาตินั้น
ภายหลังมนุษย์ได้นำมาประสมกับคำอื่น เพื่อให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น ชักโครก และคำแต่ละคำเมื่อใช้ในภาษานานๆเข้าเสียงก็สึกกร่อนและสลายไป
ด้วยเหตุนี้คำที่เกิดจากเลียนเสียงธรรมชาติก็ห่างไกลจากเสียงธรรมชาติไปไกล
2. เลียนเสียงคำอุทาน (Interjectional Language) Mux Muller เรียกว่า
Poohpooh Theory
คือภาษาเกิดจากการที่เราเลียนเสียงอุทาน
ที่เปล่งออกมาด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น ตกใจ ดีใจ เจ็บปวด เช่น โอ้ย เฮ้ย ฮ้า อุ้ย ฮือ
สมองของมนุษย์ก็ค่อยจดจำไว้
ทีนี้เมื่อออกเสียงโอยใครๆก็รู้และเข้าใจว่าเกิดจากการเจ็บป่วย
หรืออย่างในภาษาอังกฤษ เสียง Fie,fiend
เป็นเสียงเหล่งออกมาเมื่อเกิดความกลัวเป็นต้น
ภาษาอาจเกิดจากการเลียนเสียงที่เรากระทำอันใดอันหนึ่งพร้อมกันละออกเสียงให้จังหวะ
เพื่อให้งานพร้อมเพรียงกัน และบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยไปในตัว เช่น
ราศีจะถอนสมอก็ว่า Yeheho จึงกลายเป็น “Yeheho Theory” ของไทยเราก็มี เฮลโล สารภา
3.
เลียนเสียงเด็ก (Nursery
Language)
เด็กที่เกิดใหม่มีระยะร้อง และพูดได้เป็น 3 ระยะคือ
ตอนร้องกวนอ้อแอ้และตอนพูดได้
ตอนร้องไม่มีอะไรนอกจากร้อง
หิวก็ร้อง ไม่สบายก็ร้อง เสียงร้องนั้นก็เป็นเสียง ว้าก ว้าก แวก แวก แว้ แว้ ถ้าร้องเป็นเวลานานเราก็พูดว่า
ร้องเป็นวักเป็นเวน คำว่า วัก เวน ว่า ซึ่งมีอยู่ในภาษาไทย
อาจจะมาจากเด็กร้องนี่ก็ได้ เทียบกับคำอังกฤษ Wail Weep Woe
ตอนอ้อแอ้เกิดเป็นเสียง อ้อแอ้
ที่ชัดขึ้นหน่อย กลายเป็นเสียง บ้าบ้า แบ้แบ้ ต้าต้า แต้แต้
แต่ก็ยังเป็นภาษาไม่ได้ เพราะยังไม่มีความหมายอะไร
เสียงอ้อแอ้นี้เป็นเสียงเกิดจากอวัยวะต่างๆในปากและลำคอ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น เบดาน
ลูกกระเดือก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นที่ทำให้เกิดเสียงเริ่มต้นเป็นชั้นแรก
อวัยวะเหล่านี้จะไม่อยู่ในบังคับของเด็ก เพราะยังไม่ได้คุ้นกัน
เสียงที่เปล่งออกมาจึงไม่เป็นถ้อยคำ ต่อมาถึงตอนที่3
เด็กจึงสอนพูดเป็นคำในภาษาขึ้น
การออกเสียงพูดของเด็กตามธรรมดาก็ออกเสียงที่ง่ายก่อน
และเสียงพยัญชนะวรรค ป. เป็นเสียงที่เด็กออกได้ก่อน
เพราะเป็นเสียงที่เกิดจากริมฝีปาก
เมื่อเด็กออกเสียงพยัญชนะในวรรคนี้ได้แล้วก็จะเริ่มออกเสียงสระที่ง่ายๆ เช่น อา ออ
แอ บางครั้งเด็กเปล่งเสียง ลิ้นก็อาจไปกระทบเข้ากับฟันหรือโคนฟัน กลายเป็นเสียงพยัญชนะ ต.
เมื่อเด็กรู้จักใช้งานกล้ามเนื้อและอวัยวะอื่นๆในปากได้ตามใจนึกก็จะออกเสียงสระและพยัญชนะอื่นๆได้ต่อไปตามลำดับ
“พ่อ”
“แม่” ซึ่งมีอยู่ในภาษาต่างๆ
มักขึ้นต้นของคำด้วยเสียงพยัญชนะในวรรค ป. หรือ ต. อย่างเช่น
สันสกฤต ปิตฤ มาตฤ
บาลี ปิตุ มาตุ
อังกฤษ papa mama
มาลายู ปะป๊ะ จะมะ
จีน อาเป๋ อาบ๊อ
ไทย พ่อ แม่
ทมิฬ อับปะ อัมมะ
คำที่เกิดจากภาษาเด็ก นอกจากคำว่า พ่อ แม่
อาจมีคำอื่นอีกเช่นเด็กร้องว่า หม่ำหม่ำ หมายถึง
กินถ้าออกเสียงพยางค์หลังให้สั้นกว่าพยางค์หน้า ก็จะเป็น หม่ำมะ เสียงใกล้กับคำว่า
มาม่า ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแม่ ในภาษามาลายู หม่ำหม่ำ หมายถึง ดูดนม
ในภาษาสันสกฤต มาส ว่ากิน ในภาษาสวีเดน นำนำหมายถึง กินจุ้บกินจิ้บ ดังนี้คำว่า นม
น้ำ มูมมาม ก็อาจมาจากภาษาเด็กก็ได้
อย่างไรก็ตามแม้จะทราบที่เกิดของคำในภาษาเป็นรูปเค้าเช่นนี้
แต่ก็หาได้เป็นเรื่องกำเนิดของคำ ในภาษาทุกคำไม่นัก ภาษาบางท่านจึงให้ข้อสังเกตว่า
คำในภาษาน่าจะเกิดจากการสมมุติขึ้นเมื่อเหมาะสมก็ติดอยู่และเป็นที่ยอมรับใช้กันทั่วไป
การศึกษาเรื่องภาษา
การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษามีมาช้านานแล้ว
แต่มุ่งไปในทางแง่งามของภาษาเรียกว่าวรรณคดี
และมุ่งไปในทางวางกฎเกณฑ์หรือระเบียบวิธีใช้ภาษาเรียกว่าไวยกรณ์หรือหลักภาษา
ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่19
ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ได้แพร่หลายเข้ามาในการศึกษาทุกแขนง
ในด้านภาษาก็เช่นเดียวกัน
ได้มีผู้สนใจพิจารณาเรื่องราวของภาษาตามแนวทางวิทยาศาสตร์
และถือว่าวิชาเกี่ยวกับภาษานี้เป็นศาสตร์ไทยแขนงหนึ่ง เรียกว่าวิชาภาษาศาสตร์
การศึกษาภาษาตามแนววิทยาศาสตร์นี้
มีวิธีการและดำเนินงานเป็นแบบแผนและลำดับขั้น
ซึ่งพอจะสรุปได้ว่านักภาษาศาสตร์จะต้องสังเกตการณ์การใช้ภาษาอย่างแท้จริง
นำตัวอย่างการใช้มาเป็นวัตถุพยานและพิจารณาวัตถุพยานนั้นอย่างท่องแท้
และสรุปเป็นกฎขึ้น ดังนั้นกฎในทางภาษาศาสตร์จึงต้องตั้งจากหลักฐานคือการใช้ภาษานั้นๆ
นักไวยากรณ์จึงแตกต่างจากนักภาษาศาสตร์ตรงที่นักไวยากรณ์ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นจากภาษาเขียนที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือ
หรือบางทีก็รับถ่ายทอดกฎเกณฑ์ภาษาอื่นๆมาบ้าง (เช่น เรื่อง กาลก ในภาษาไทย)
แต่นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาการใช้พูดกันแล้วตั้งเป็นหลักขึ้น
จึงเท่ากับได้รู้ลักษณะและหลักเกณฑ์ของภาษาที่ใช้กันอยู่แท้จริงนั่นเอง
ภาษาพูด ภาษาเขียน
แต่เดิมมีคนทั่วไปมักเข้าใจว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่ไม่ถูกต้อง
ถือว่าภาษาเขียนเป็นภาษาที่ถูกต้อง
เป็นลายลักอักษรที่ประจักษ์ชัดแน่นอนสืบเป็นมรดกวัฒนธรรม แต่ในปัจจุบันนี้นักปราชญ์ทางภาษามีความเห็นว่า
ภาษาที่แท้จริงของคนคือภาษาพูด
ส่วนภาษาเขียนก็คือเครื่องหมายแทนคำพูดเป็นการจารึกคำพูดไว้
องค์ประกอบแห่งภาษา
แต่ละภาษาจะมีองค์ประกอบ 3 ประการด้วยกันคือ
1.
ระบบเสียง (หรือหน่วยเสียง) Phonology แบ่งย่อยเป็น
ก. หน่วยเสียงพยัญชนะ
ข. หน่วยเสียงสระ
ค. หน่วยเสียงวรรณยุกต์
ในตำราสยามไวยากรณ์ของพระยาอุปกิตศิลปะสาร
กล่าวไว้ว่าเสียงในภาษาไทยมีเสียงแท้ (สระ)
เสียงแปล
(พยัญชนะ) และเสียงดนตรี (วรรณยุกต์)
2.
ระบบคำหรือระบบหน่วยคำ Morphology เมื่อเราเอาหน่วยเสียงที่เล็กที่สุดในระบบเสียงมารวมกัน
เป็นหน่วยใหญ่ขึ้นก็เรียกว่าคำ
เช่น /ข/ รวมกับ /อา/ เป็น ขา ก็พอจะมีความหมายขึ้น แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก
3.
ระบบกลุ่มคำ Syntax
นับเป็นหน่วยใหญ่ที่สุดของภาษาโดยเอาคำมารวมกัน
ใช้สื่อความหมายให้
เป็นที่เข้าใจกันระหว่างมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
และความหมายของภาษานั้นนับว่าไม่สมบูรณ์ในขั้นนี้
ในทางไวยากรณ์ไทยเรามีกลุ่มคำที่เรียกว่า
วลี และ ประโยค
รู้จักภาษาไทย
ปก ประดิษฐ์ คุณรัตน์
พิมพ์ครั้งที่ ๑
๒
๕ ๑ ๙
สงวนลิขสิทธิ์
งานเป็นเล่มของประจักษ์ ประภาพิทยากร
(บางเล่มเป็นคณะ)
1.
ประเพณี และ ไสยเวทวิทยา ใน ขุนช้างขุนแผน (พิมพ์เอง)
2.
ความรู้เชิงภาษาไทย (โอเดียนพิมพ์)
3.
สารคดีภาษาไทย (โอเดียนพิมพ์)
4.
ภาษาไทยนี้จริงแฮะ (โอเดียนพิมพ์)
5.
เบื้องหลังการแต่งพระอภัยมณี (โอเดียนพิมพ์)
6.
คู่มือพระอภัยมณี (ศึกษาภัณพ์พิมพ์)
7.
คู่มือขุนช้างขุนแผน (ศึกษาภัณฑ์พิมพ์)
8.
คู่มือวรรณคดี ม.ศ. 1 (ศึกษาภัณฑ์พิมพ์)
9.
หนูน้อยผจญอวกาศคำกลอน (ศึกษาภันธ์พิมพ์)
10.
ภาษาไทยชุด พ.ม. (หมด)
11.
รู้จักภาษาไทย (โอเดียนพิมพ์)
12.
ร้อยกรอง (พิมพ์เอง)
13.
โวหารรักในวรรณคดี (พิมพ์เอง)
14.
คนเจ้าบทเจ้ากลอน (พิมพ์เอง)
15.
หลักภาษาการใช้ภาษา (นิยมวิทยาพิมพ์)
16.
คู่มือสามัคคีเภทคำฉันท์ (นิยมวิทยาพิมพ์)
17.
ถาม-ตอบวรรณคดี ม.ศ. 4-5 (ประสานมิตรพิมพ์)
18.
ถาม-ตอบประวัติศาสตร์ไทย (ประสานมิตรพิมพ์)
19.
ภาษาไทยชุด ป.ก.ศ. (ประสานมิตรพิมพ์)
20.
นามานุกรมขุนช้างขุนแผน (ท.ว.พ.พิมพ์)
21.
เฉลยข้อสอบภาษาไทย ม.ศ. 5 (หมด)
22.
วรรณคดีนิราศ (พิมพ์เอง)
พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศึกษาสัมพันธ์ 103/2-3-4 ถนนอำนวยสงคราม
บางกระบือ กรุงเทพมหานคร
นายบัญชา คูหาสวัสดิ์
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. 2519 โทร. 085419,854982
เนื้อหาเยอะมากๆๆๆสุดยอดจริงๆๆๆ
ตอบลบได้รู้คำศัพหลายภาษาเลย
ตอบลบ